ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลทุติยภูมิ : การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 27, 2024
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์, ภาวะคลอดก่อนกำหนด, ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด, ภาวะตกเลือดหลังคลอด
วรลักษณ์  ศรีวิลัย
โรงพยาบาลด่านช้าง
สุรีรัตน์  งามยิ่ง
โรงพยาบาลด่านช้าง
  
 บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบจับคู่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลด่านช้าง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 126 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 36 คน และกลุ่มที่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนกลุ่มละ 90 คน มาทำการศึกษาโดยการเลือกตัวอย่างจับคู่ แบบ 1:3 เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การฝากครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบ Chi-square test

    ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา และประวัติการตั้งครรภ์ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตกเลือดหลังคลอดของสตรีตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ วิธีการคลอด รกค้างและผู้ทำคลอด และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ คือ เชื้อชาติ วิธีการคลอด และการคลอดล่าช้า ผลการศึกษานี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลทางสุขภาพสำหรับวางแผนป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะตกเลือดหลังคลอด และภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ของสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้

 

 References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Sriautharawong V. Factors related to complications during pregnancy of mothers who delivered at Hua Hin Hospital. Region 4-5 Medical Journal 2019; 38(2): 126-39. (in Thai)
  2. Sasunee T. Risk Factors for postpartum hemorrhage in Photharam Hospital, Ratchaburi Province. Journal of Health and Environmental Education 2022; 7(2): 45-56. (in Thai)
  3. World Health Organization [WHO]. Preterm labor. 2023; Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth
  4. Ohuma E, Moller A-B, Bradley E, et al. National, regional, and worldwide estimates of preterm birth in 2020, with trends from 2010: a systematic analysis. Lancet. 2023; 402(10409): 1261-71.doi: 10.1016/S0140-6736(23)00878-4.
  5. Department of Medical Service. Guideline for prevention of early preterm labor in Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2023. (in Thai)
  6. Thaiyanana J. Prevalence and risk factors affecting early postpartum hemorrhage among vaginal delivery at Burapha University Hospital. Bu J Med 2023; 10(1): 1-17. (in Thai)
  7. Zenebe GA, Zenebe WA, Ewunie TM, Dires S. Primary postpartum hemorrhage and associated factors among delivering women in Gedeo Zone, Southern Ethiopia.Front Med. 2023; 10: 1096501. doi: 10.3389/fmed.2023.1096501
  8. Thaiyanana J. Prevalence and risk factors affecting birth asphyxia among the neonates delivered at Burapha university hospital. The Public Health Journal of Burapha University 2022; 17(2): 28-41. (in Thai)
  9. Phoodaangau B, Kownaklai J, Supathaweewat S. Factors associated with birth asphyxia in overweight and obese pregnant women. Journal of Health and Nursing Education 2023; 29(2): e261444 (in Thai)
  10. Granés L, Torà-Rocamora I, Palacio M, De la Torre L, Llupià A. Maternal educational level and preterm birth: Exploring inequalities in a hospital-based cohort study. PLoS One. 2023; 18(4): e0283901. doi: 10.1371/journal.pone.0283901
  11. Srichumchit S.Prevalence and factors associated with preterm birth. Buddhachinaraj Medical Journal 2023; 40(1): 75-82. (in Thai)
  12. Janthasing S. Factors associated with birth asphyxia with one minute apgar score of 7 or less in Buayai hospital Nakhonratchasima Province. Medical Journal of Sisaket Surin Buriram Hospitals 2020; 35(3): 679-88. (in Thai)
  13. Panna S. Risk factors for birth asphyxia in newborns delivered at Nongkhai Hospital. Srinagarind Med J 2020; 35(3): 278-86. (in Thai)