ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 27, 2024 |
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อน, การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป, ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในโรงพยาบาลด่านช้าง จำนวน 316 คน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลระหว่างการผ่าตัดและเทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึก และข้อมูลภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติถดถอยโลจิสติกส์
ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เป็นร้อยละ 30.06 ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ 5 อันดับแรก ได้แก่ อาการไอ (ร้อยละ 9.45) เจ็บคอ (ร้อยละ 5.08) คลื่นไส้/อาเจียน (ร้อยละ 3.80) ความดันโลหิตต่ำ (ร้อยละ 3.20) และภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (ร้อยละ 2.82) ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ได้แก่ ดัชนีมวลกายมาก (OR 1.069, 95%CI 1.002-1.141, p = .043) ประวัติสูบบุหรี่ (OR .368, 95%CI .160-.845, p = .018) การได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค Balance anesthesia (OR 3.022, 95%CI 1.232-7.408, p = .012) การได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค Total intravenous anesthesia (OR .195, 95%CI .058-.653, p = .002) ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนจากการได้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เอกสารอ้างอิง
|