การวิเคราะห์มโนทัศน์: สุขภาวะของวัยรุ่นไทยที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 27, 2025
คำสำคัญ: การวิเคราะห์มโนทัศน์, สุขภาวะ, วัยรุ่นไทยที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
เสาวนีย์  ทรงประโคน
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บังอร  ปีประทุม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

 บทคัดย่อ

      แนวคิดสุขภาวะมีความสำคัญในวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เนื่องจากสุขภาวะเป็นผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพที่มีองค์ประกอบของการดูแลสุขภาพทางกาย ทางปัญญา ทางอารมรณ์ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ จากปราฏการณ์ทางการพยาบาลแนวคิดสุขภาวะในวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ยังไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความหมาย คุณลักษณะ ปัจจัยเกิดก่อนและ สิ่งที่ตามมาของสุขภาวะของวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี  วิธีการศึกษาตามแนวทางของ Walker และ Avant มี 8 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การเลือกมโนทัศน์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ 2) การกำหนดเป้าหมายของการวิเคราะห์มโนทัศน์ 3) การระบุถึงการใช้มโนทัศน์ในทุกแง่มุมที่สามารถค้นหาได้ 4) การกำหนดคุณลักษณะสำคัญของมโนทัศน์ 5) การระบุ/สร้าง กรณีศึกษาตัวอย่างที่มีคุณลักษณะของมโนทัศน์อย่างครบถ้วน 6) การระบุกรณีศึกษาตัวอย่างอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ 7) การระบุถึงสิ่งที่นำให้เกิดและสิ่งที่ตามมาจากมโนทัศน์ และ 8) การกำหนดแนวทางที่จะวัดหรือประเมินคุณลักษณะมโนทัศน์ ผลการวิเคราะห์พบคุณลักษณะสำคัญของสุขภาวะในวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี คือ ความเข้มแข็งภายในร่างกาย ความเข้มแข็งภายในจิตใจ ความเข้มแข็งสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเข้มแข็งทางสังคม ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์มโนทัศน์สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาวะและการประเมินสุขภาวะในวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีต่อไป

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Royal Institute of Thailand. Dictionary of the royal institute. Bangkok: Royal Institute of Thailand; 2010. (in Thai)
  2. Adams TB, Bezner JR, Drabbs ME, Zambarano RJ, Steinhardt MA. Conceptualization and measurement of the spiritual and psychological dimensions of wellness in a college population. J Am Coll Health. 2000; 48(4): 165-73.
  3. Walker LO, Avant KC. Strategies for theory construction in nursing. 6th ed. Upper Saddle River (NJ): Prentice Hall. 2019.
  4. World Health Organization. Well-being measures in primary health care: The DepCare Project. Report on a WHO Meeting, Stockholm, Sweden. 1998.
  5. Adams TA, Bezner J, Steinhardt M. The conceptualization and measurement of perceived wellness: Integrating balance across and within dimensions. Am J Health Promot. 1997; 11(3): 208-18.
  6. Global Wellness Institute. Understanding wellness: Opportunities & impacts of the wellness economy for regional development. 2019.
  7. Khunapisit, W. What is well-being? Why is "well-being education" necessary? In *Commemorative book for the 18th anniversary of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn*. November 26, (in Thai)
  8. Srimuang P, Tangvoraphonkchai J. Caring in school-age children with HIV/AIDS at home by caregiver. J Nurs Sci Health. 2011; 34(2): 52-60. (in Thai)
  9. Lakhonphon S, Laurujisawat P, Siriboon S. Attitude towards sexuality of HIV adolescents at the Thai Red Cross AIDS Research Center. Chulalongkorn Med J. 2011; 58(3): 309-25. (in Thai)
  10. Poogpan J, Wacharasin C, Deoisre W. A comparison of psychological well-being between HIV-positive and HIV-negative adolescent AIDS orphans. J Boromarajonani Coll Nurs Bangkok. 2016; 32(3): 87-96. (in Thai)
  11. Mietprom T, Rutchanagul P, Kongvattananon P. Self-care experiences of adolescents living with HIV/AIDS receiving antiretroviral drugs. J Nurses Assoc Thailand, North-Eastern Div. 2013; 31(3): 57-67. (in Thai)