การพยาบาลมารดาวัยรุ่นมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง และได้รับการผ่าตัดคลอด : กรณีศึกษา

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024
คำสำคัญ: การพยาบาลมารดาวัยรุ่น, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
เครือวัลย์ นิติศิริ
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

  ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นปัญหาทางสุขภาพในสตรีตั้งครรภ์และเป็นสาเหตุสำคัญการเจ็บป่วยและการตายของมารดาและทารก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้ในสตรีตั้งครรภ์ ประกอบด้วย ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ครรภ์เป็นพิษ (ชนิดไม่รุนแรงกับชนิดรุนแรง) และครรภ์เป็นพิษระยะชัก และความดันโลหิตสูงเรื้อรังร่วมกับครรภ์เป็นพิษ ผลกระทบของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้เช่นกัน อาจทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการชัก เกิดภาวะของโรคหลอดเลือดสมองอย่างฉับพลัน และกลุ่มอาการ HELLP ในขณะที่ทารกอาจเกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์การคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น ดังนั้น พยาบาลห้องคลอดจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ของการประเมิน ติดตาม เฝ้าระวัง และดูแลภาวะความดัน โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ที่มีความรุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอด เพื่อลดความรุนแรงของโรค แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์  
  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติและการพยาบาลมารดาวัยรุ่นที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์จากบทความวิชาการและบทความวิจัย เนื้อหาสาระในบทความนี้ ประกอบด้วย ความหมายและชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เกณฑ์การวินิจฉัย อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อมารดาและทารก หลักการพยาบาลที่สำคัญ และกรณีศึกษาซึ่งเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลด่านช้าง เกิดผลลัพธ์ที่ดี ปลอดภัยและได้รับการรักษาตัวต่อในหอผู้ป่วย

References

เอกสารอ้างอิง   

 
  1. Khedagi AM, Bello NA. Hypertensive Disorders of Pregnancy. Cardiol Clin 2021; 39(1): 77- doi:10.1016/j.ccl.2020.09.005
  2. Garovic VD, Dechend R, Easterling T, et al. Hypertension in Pregnancy: Diagnosis, Blood Pressure Goals, and Pharmacotherapy: A Scientific Statement From the American Heart Association. Hypertension 2022; 79(2): e21- doi:10.1161/HYP.0000000000000208
  3. Public Health Strategies of the Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D.2022. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2023. (in Thai)
  4. Bureau of Reproductive Health. Statistics of Reproductive Health for Thai.; 2023. Retrieved from https://rh.anamai.moph.go.th/th/kpi-2565
  5. ACOG practice Bulletin No. 202: Gestational Hypertension and Preeclampsia. Obstet Gynecol 2019; 133(1): 1-
  6. American College of O, Gynecologists, Task Force on Hypertension in P. Hypertension in pregnancy. Report of the American College of Obstetricians and Gynecologists’ Task Force on Hypertension in Pregnancy. Obstet Gynecol. 2013; 122(5): 1122-
  7. ACOG Practice Bulletin No. 203 Summary: Chronic hypertension in pregnancy. Obstet Gynecol. 2019;133(1): 215-
  8. Cunningham FG. Williams obstetrics. 25th New York: McGraw-Hill; 2018.
  9. Duley L. The global impact of pre-eclampsia and eclampsia. Semin Perinatol. 2009; 33(3): 130- doi:10.1053/j.semperi.2009.02.010
  10. Chaloumsuk N, Baosoung, C. Nursing care for hypertensive disorders of pregnancy. Chiangmai: Faculty of Nursing, Chiangmai University; 2019. (in Thai)
  11. Phadungyotee V. Nursing care of pregnancy with complication: Pregnancy induced hypertension. Bangkok: Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2023. (in Thai)
  12. Techawathakul, Nursing roles for preventing preeclampsia. Kuakarun Journal of Nursing 2015; 22(2): 7-19. (in Thai)
  13. Cunningham FG, Levono KJ, Dashe JS, Hoffman BL, Spong CY, Casey BM. Williams obstetrics. 26th New York: McGraw-Hill; 2022.
  14. Silbert–Flagg J, Kennedy CE. Maternal and child health nursing: Care of the childbearing and childbearing family. 9th Philadelphia: Walters Kluwer; 2023.
  15. Pascoal ACF, Katz L, Pinto MH, et al. Serum magnesium levels during magnesium sulfate infusion at 1 gram/hour versus 2 grams/hour as a maintenance dose to prevent eclampsia in women with severe preeclampsia: A randomized clinical trial. Medicine 2019; 98(32): e16779. doi:10.1097/MD.0000000000016779