ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลด่านช้าง

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024
คำสำคัญ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอด
ชณัฐศิกานต์ น้อยเวช
โรงพยาบาลด่านช้าง
เครือวัลย์ นิติศิริ
โรงพยาบาลด่านช้าง
สุวิมล ปรีสงค์
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลด่านช้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่เข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลด่านช้าง เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบวัดเจตคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่าความตรงตามเนื้อหา 1.00, 0.85, 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.75, 0.68, 0.90 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ
   ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.31, SD = 0.49) แรงสนับสนุนทางสังคม และเจตคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .565, p = .000 และ r = .288, p = .000 ตามลำดับ) ขณะที่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มีร้อยละ 34.80 อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (β = .600, p = .000, R2 = .348)

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Wichainprapha A. Self-management for successful breastfeeding. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2018; 34(1): 150-6. (in Thai)
  2. Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D. 2021. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2022.
  3. Nuampa S, Sinsuksai N, Phahuwatanakorn W, Chanprapaph P. Personal factors, first feeding time and nurse support in predicting successful exclusive breastfeeding at discharge in mothers with cesarean section. Nursing Science Journal of Thailand 2013; 31(2): 49–59. (in Thai)
  4. Singmaung W. Breastfeeding knowledge and skills of primipara postpartum women at Parents school, Health Promoting Hospital Regional Health Promotion Center 5, Ratchaburi. Ratchaburi: Health Promoting Hospital Regional Health Promotion Center 5; 2021. (in Thai)
  5. Chainok L. Factors influencing breast feeding behaviors of postpartum adolescent mothers in Maharat Nakhonratchasima Hospital. [thesis]. Suranaree University of Technology; 2015. (in Thai)
  6. Bonkhunthod P. Factors affective the life quality of the elderly in Nongprong village, I-san sub-district, Mueang district, Buriram province. Udonthani Hospital Medical Journal 2021; 29(2): (in Thai)
  7. Kantaruksa K, Lerttrakannon P. A theory of planned behavior and breastfeeding promotion. Nursing Journal 2015; 42(2): 169-76. (in Thai)
  8. Lertsakornsiri M, Saibae S. The relationship between self-efficacy, self-esteem, attitude toward breastfeeding and breastfeeding behaviors in the first-time teenage postpartum mothers. Thai Journal of Nursing 2019; 68(1): 29-38. (in Thai)
  9. Bloom BS. What we are learning about teaching and learning: A summary of recent research. Principal 1986; 66: 6-10.
  10. Best JW, Khan JV, Jha AK. Research in education. 10th Pearson India; 2016.