การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงต่อ ระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจ โรงพยาบาลด่านช้าง
เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024 |
คำสำคัญ: แนวคิดลีน, การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจ |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง และศึกษาระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจภายหลังปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงออกจากหอผู้ป่วยเด็กและสตรี โรงพยาบาลด่านช้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยเด็กและสตรี โรงพยาบาลด่านช้าง เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 136 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัย คือ ขั้นตอนในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดลีน แบบบันทึกระยะเวลาในกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย มีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 และมีความเที่ยงด้วยวิธีสอดคล้องภายในเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติ One sample t - test
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมในขั้นตอนกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดลีน มีกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรมหลัก 12 กิจกรรมย่อย และกำหนดเกณฑ์ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด 130 นาที 2) ระยะเวลาที่ใช้กิจกรรมย่อยทั้งหมด 10 กิจกรรมเมื่อเทียบกับเกณฑ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่อีก 2 กิจกรรม คือ ระยะเวลาที่ใช้ตรวจสอบคำสั่งแพทย์ และระยะเวลาที่ใช้พิมพ์ใบนัด/ใบส่งตัว/ใบรับรองแพทย์ใบตรวจพิเศษต่าง ๆ ไม่แตกต่างกับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.24, SD 0.64)
References
เอกสารอ้างอิง
|