ผลลัพธ์ของกระบวนการบำบัดผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีนในร่างกาย โรงพยาบาลด่านช้าง

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024
คำสำคัญ: กระบวนการบำบัด, ผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีน, ผลลัพธ์การบำบัด
วรลักษณ์ ศรีวิลัย
โรงพยาบาลด่านช้าง
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของกระบวนการบำบัดรักษาของผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาในคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลด่านช้าง กระบวนการบำบัดรักษา ประกอบด้วย ความตั้งใจการหยุดเสพสารแอมเฟตามีน และภาวะแทรกซ้อนทางจิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลด่านช้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 187 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล กระบวนการบำบัดรักษาของผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีน และผลลัพธ์ของกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย
   ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมบำบัดรักษาของผู้ป่วยที่เสพสารแอมเฟตามีนที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาแอมเฟตามีนมากที่สุด คือ การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (ร้อยละ97.86) รองลงมาคือ การบำบัดแบบจิตสังคมบำบัด (ร้อยละ 57.75) และการบำบัดแบบจิตสังคมบำบัดร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (ร้อยละ 41.18) ตามลำดับ ส่วนผลลัพธ์ของกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาแอมเฟตามีน พบว่า มีความตั้งใจเลิกเสพสารแอมเฟตามีน (ร้อยละ 63.64) ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางจิต (ร้อยละ 89.84) สามารถติดตามผู้ป่วยภายผ่านกระบวนการบำบัดรักษาครบ
(ร้อยละ 77.54) นอกจากนี้ยังพบว่า ผลจากการติดตามในระยะ 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยลดปริมาณยาเสพติด (ร้อยละ 48.13) รองลงมาคือ
เลิกเสพติด (ร้อยละ 22.46) และถูกจับซ้ำ (ร้อยละ 21.93) ตามลำดับ ผลจากการติดตามในระยะ 12 เดือน พบว่า ลดปริมาณเสพยาเสพติด
(ร้อยละ 47.59) รองลงมาคือ เลิกเสพติด (ร้อยละ 24.06) และถูกจับซ้ำ (ร้อยละ 17.11) ตามลำดับ

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. United Nations Office on Drugs and Crime [UNODC]. World drug report 2022. Austria: United Nations publication; 2022.
  2. Stockings E, Tran LT, Santo TJr, Peacock A, Larney S, Santomauro D, et al. Mortality among people with regular or problematic use of amphetamines: A systematic review and meta-analysis. Addiction 2019;114(10):1738-50. doi:10.1111/add.14706
  3. Office of the Narcotics Control Board, Ministry of Justice. Results of Annual Report A.D. 2021. Ministry of Justice; 2021. (in Thai)
  4. Rattanasanya P, Chomchai C. Recreational Drug Use in Adolescent. Bangkok: Scan and Print; 2014. (in Thai)
  5. Schelleman H, Bilker WB, Kimmel SE, Daniel GW, Newcomb C, Guevara JP, et al. Amphetamines, atomoxetine and the risk of serious cardiovascular events in adults. PLoS One 2013;8(1):e52991. doi:10.1371/journal.pone.0052991
  6. Hennissen L, Bakker MJ, Banaschewski T, Carucci S, Coghill D, Danckaerts M, et al. Cardiovascular effects of stimulant and non-stimulant medication for children and adolescents with ADHD: A systematic review and meta-analysis of trials of methylphenidate, amphetamines and atomoxetine. CNS drugs 2017; 31(3):199-215.
  7. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Manual of Guidelines of Therapeutic and Rehabilitation for Alcohol/ Narcotic Drugs Addicts with Psychiatric Symptoms and Psychiatric Comorbidities, Department of Mental Health. Nonthaburi: Department of Mental Health, Ministry of Public Health; 2021. (in Thai)
  8. Moonmee W, Uthis P, Suktrakul S. The Effect of behavioral self-control training and telephone follow-up program on amphetamine consumption in amphetamine relapse clients, Department of Mental Health. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2022; 34(1); 65-77. (in Thai)
  9. Suriyan B. Survey of attitude and behavior of drug abuse: case study of 15 - 65 years old in 20 Provinces, Thailand. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. 2020. (in Thai)
  10. Uys LR. A theoretical framework for psychiatric rehabilitation. Curationis 1991; 14(3): 1-5.