ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ระบบการเตรียมความพร้อมก่อนระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว โดยวิสัญญีพยาบาล : การศึกษาย้อนหลัง 3 เดือน

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024
คำสำคัญ:ผลลัพธ์ทางคลินิก, ระบบการเตรียมความพร้อมก่อนระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว, วิสัญญีพยาบาล
สุนิษา ศรีบุญเพ็ง
โรงพยาบาลด่านช้าง
เมษิยา ภูผา
โรงพยาบาลด่านช้าง
เสาวลักษณ์ คุ่ยสมใจ
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ความปวดและภาวะแทรกซ้อนภายหลังใช้ระบบการเตรียมความพร้อมก่อนระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวโดยวิสัญญีพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ในโรงพยาบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 54 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการเตรียมความพร้อมก่อนระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวโดยวิสัญญีพยาบาล และแบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย คือ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความปวดหลังการผ่าตัดสูงสุด อยู่ในช่วงแรกรับในห้องพักฟื้น 15 นาที และ 30 นาที (Mean = 6.93, 7.31, 6.48 SD = 2.24, 1.99, 2.30 ตามลำดับ) รองลงมาคือ  มีระดับคะแนนความปวดอยู่ในระดับปานกลาง ในช่วงเวลา 45 นาทีและ 60 นาที (Mean = 5.57, 4.65 และ SD = 1.99, 2.09 ตามลำดับ) และภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีระดับคะแนนความปวดอยู่ในระดับต่ำ  มากกว่าครึ่งจัดการความปวดโดยใช้ยา ในช่วงแรกรับในห้องพักฟื้นมากที่สุด (ร้อยละ 77.78) รองลงมาคือ 15 นาที และ 30 นาที (ร้อยละ 66.67, 29.63) ตามลำดับ โดยส่วนมากได้รับยาบรรเทาอาการปวดชนิด Morphine (ร้อยละ 70.37) ส่วนหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงหลัง ตัวอย่างครึ่งหนึ่งมีการจัดการความปวด  (ร้อยละ 50.00) และทุกรายไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังเข้ารับบริการทางวิสัญญี (ร้อยละ 100) ข้อเสนอแนะ ดังนั้น วิสัญญีพยาบาล ควรให้ความสำคัญกับการประเมินระดับความปวด เพื่อให้การจัดการความปวดที่เหมาะสม และทันท่วงที ป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Raksakietisak M, Chaiwat O, Wongyingsinn M, Nivatpumin P,Winijkul A. Essentials in perioperative assessment Vol.1. 2nd ed. Bangkok: Faculty of Medicine, Siriraj Hospital; 2022. (in Thai)
  2. Wijeysundera DN, Finlayson E. Preoperative evaluation. In M. A. Gropper (Eds.). Miller’s Anesthesia Elsevier; 2020.
  3. Charuluxananan S , Sriraj W, Punjasawadwong Y, Pitimana-aree S, Lekprasert V, Werawatganon T, et al. Perioperative and Anesthetic Adverse events in Thailand (PAAd Thai) incident reporting study: anesthetic profiles and outcomes. Asian Biomedicine 2017; 11: 21-32. (in Thai)
  4. Pansamai L, Ujuntuk J, Jeanjankij V, Buhome N, Poorananon P, Meenasantirak A. Pre-operative preparation nursing model in geriatric anesthesia of anesthetist nurses. Mahasarakham Hospital Journal 2017; 14(3): 76-89. (in Thai)
  5. Puttaruk W. The effect of readiness pattern for patients undergone general anesthesia on state anxiety in Srisangwornsukhothai hospital, Sukhothai Province. Nursing Journal 2021; 48(1): 269-80.
  6. Saithong P. Effectiveness of post-operative pain management guidelines in the recovery room at Ban Pong Hospital, Ratchaburi Province. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life 2022; 2(3): 1-12. (in Thai)
  7. The Royal College of Anesthesiologists of Thailand (RCAT). Practice Advisory for Preanesthesia Evaluation. Bangkok: The Royal College of Anesthesiologists of Thailand (RCAT); 2019. Received from https://www.rcat.org/cpgs
  8. Malley A, Kenner C, Kim T, Blakeney B. The role of the nurse and the preoperative assessment in patient transitions. AORN J 2015; 102(2): 181.e1-181.e1819. doi:10.1016/j.aorn.2015.06.004
  9. Omole OB, Torlutter M, Akii AJ. Preanaesthetic assessment and management in the context of the district hospital.S Afr Fam Pract 2021; 63(1): e1-e7. doi:10.4102/safp.v63i1.5357