ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 27, 2024
คำสำคัญ: การตั้งใจเรียน, พฤติกรรมการตั้งใจเรียน, นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์
พัทธมน  จินะราช
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กัญญาณัฐ  พานทวีป
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฐานิดา  วิงวอน
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ณิชาภัทร  วันเพ็ญ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นัยน์กานต์  ไข่คำ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นิภาดา  ปิดตะ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พัชรีภรณ์  ไชยศรีษะ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อภิษา  วงษ์ใหม่
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อรพิน  จุลมุสิ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 

 บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้เรียนในห้องเรียน แรงจูงใจในการเรียน พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนกับพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 231 คน แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมของผู้เรียนในห้องเรียน แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียน แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของผู้สอนตามการรับรู้ของนิสิต และแบบสอบถามพฤติกรรมการตั้งใจเรียน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92, 0.87, 1.00, 1.00, และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.83, 0.71, 0.64, 0.85, และ 0.70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

     ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.35, SD = 0.53) (2) พฤติกรรมของผู้เรียนในห้องเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการตั้งใจเรียน (r =.35, p<.05)   แรงจูงใจในการเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการตั้งใจเรียน (r =.46, p<.05) สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการตั้งใจเรียน (r=.33 p<.05), และพฤติกรรมการสอนของผู้สอนมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการตั้งใจเรียน (r=.38 p<.05) สรุปว่าแรงจูงใจในการเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Uppinjai S, and Yawiraj P. Classroom Management in the Digital Age. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand (JAPDEAT). 2019; 1(4): 51-66. (in Thai)
  2. Jantakeeree T. Online Instructional Management In the Digital Era. 2022; Journal of Modern Learning Development. 2022; 7(10): 349-63. (in Thai)
  3. Chamnian, M. & Chamnian K. Benefit, Problems and Solutions of Using Online Media in Studies with Efficiency in Schools, Nakhon Si Thammarat Province. Ratchaphruek Journal. 2018; 16(3): 113-21. (in Thai)
  4. Limpasute P. Attentive behavior of part-time undergraduate student at Rajabhat Rajanagarindra University. Chachoengsao. [thesis]. Srinakharinwirot University; 2012. (in Thai)
  5. Rahiminia E, Yazdani S, Rahiminia H. Factors affecting concentration and attendance in the classroom from students' point of view in Qom University of Medical Sciences (2018). Educational Research in Medical Sciences 2019; 8(2): 1-6.
  6. Attia NA, Baig L, Marzouk YI, Khan A. The potential effect of technology and distractions on undergraduate students’ concentration. Pakistan journal of medical sciences 2017; 33(4): 860-65.
  7. Pratan W. Causal model development, factor affecting and mediation effect to attention behavior through academic self-efficacy of the 4th years student in Srinakharinwirot University’ s demonstration school. [thesis]. Srinakharinwirot University; 2013. (in Thai)
  8. Bandura A. Social cognitive theory of self-regulation. Organizational behavior and human decision processes 1991; 50(2): 248-87.
  9. Srisatidnarakul, B. The methodology in nursing research. 5thed. You and I intermedia, (2010). (in Thai)
  10. Wonghipthong K, Khom-u K, Danjittisiri K, Thiangtrong K, Thiangjan N, Thongdonngow W, Thamicharoenthawon A, Kinzang Y, Suwannakeeree W. Caring Behaviors of Nursing Students at Naresuan University. Thai Journal of Nursing, 2020; 69(4): 11-20. (in Thai)
  11. Silpcharu T. SPSS and AMOS: Research and Data Analysis. 17th ed. Business R&D, (2017). (in Thai)
  12. Metheekul P. Causal Factors Infuencing Learning Achievement of Undergraduate Students in Faculty of Education, Dhonburi Rajabhat University. Journal of Graduate School, Pitchayatat. 2018; 14(2): 113-20. (in Thai)
  13. Kritthiammek S. Factors influencing the working efficiency of the production department in PZ cussons company limited. [thesis]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2017. (in Thai)
  14. Wanngamwiset, S., Lumrod, N., & Tojun, S. Factors Associated with Intentional Behavior of Using Online Learning among Nursing Students of Nursing Colleges Under Praboromarajchanok Institute (Central Network 1). Journal of Nursing and Education. 2023; 16(1): 48-57. (in Thai)
  15. Chevasutho, R. Relationship between Teaching Quality, Learning Behaviour and Learning Efficacy as Observed amongst Third-Year Nursing Science Majors at Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri. Journal Thai Nurse midwife Council. 2013; 27(4): 43-56. (in Thai)
  16. Wannapuek, R. Learning behavior towards academic achievement in advanced accounting II of Sripratum Universitys students. Sripratum University Conference. 2011; 835-42. (in Thai)