คุณภาพบริการพยาบาลของผู้ป่วยที่มารับบริการในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลด่านช้าง

PDF

เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 14, 2024
คำสำคัญ: คุณภาพบริการพยาบาล, หอผู้ป่วยพิเศษ, การรับรู้ของผู้ป่วย
พิมพ์สุภางค์ บุญประจวบ
โรงพยาบาลด่านช้าง
ลำยอง อินทร์ใจเอื้อ
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

    การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาระดับคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่มารับบริการหอผู้ป่วยพิเศษบรรหารแจ่มใส โรงพยาบาลด่านช้าง ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยพิเศษบรรหารแจ่มใส โรงพยาบาลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 106 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วย มีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .90 มีค่าความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย 
   ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพบริการพยาบาลของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการหอผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลด่านช้างในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 3.57, SD = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะของพยาบาลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (Mean = 3.61, SD = 0.50) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการดูแลผู้ป่วย และด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (Mean = 3.59, SD = 0.72) ด้านความพร้อมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย (Mean = 3.55, SD = 0.55) และด้านความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย (Mean = 3.51, SD = 0.55) ตามลำดับ

 

References

เอกสารอ้างอิง   

  1. Fatima I, Humayun A, Iqbal U, Shafiq M. Dimensions of service quality in healthcare: A systematic review of literature. Int J Qual Health Care 2019; 31(1): 11-29. doi:10.1093/intqhc/mzy125
  2. Seth N, Deshmukh SG, Vrat P. Service quality models: A review. International Journal of Quality & Reliability Management 2005; 22(9): 913-49.
  3. Crongwiriyapap W, Ratchukul S. Nursing service quality at out-patient units private hospitals, Bangkok Metropolis. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2015; 16(2): 97-105. (in Thai)
  4. Fitzsimmons JA, Fitzsimmons M. Service management: Operations, strategy, information technology. 7th Boston: Irwin McGraw-Hill; 2010.
  5. Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing 1985; 49(4): 41-5.
  6. Parasuraman A, Berry LL, Zeithaml VA. Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing 1991; 67(4): 57-67.
  7. Supachutikul Way of hospital Accreditation: Manual of practice. 2nd ed. Nonthaburi: Design; 2001.      (in Thai)
  8. Polkacha S, Nikornpittaya S, Saiyaros R. The relationship of service and development of Selaphum Hospital, Selaphum District Roi Et Province. Journal of Pacific Institute of Management Science 2021; 7(2): 320-8. (in Thai)
  9. Ruknarong Nursing care quality as perceived by hospitalized patients in Kiriratnikhom Hospital, Suratthani Province. Medical Journal Region 11 2013; 7(3): 383-95. (in Thai)
  10. Somudorn K, Jitnom S. The effect of service quality on behavioral intention of fort Suranari hospital users. Journal of Nakhonratchasima College (Humanities and Social Sciences) 2022; 16(1): 33-45.      (in Thai)
  11. Makaluck Expectation and perception of patients regarding to service quality, inpatient department, Napalai hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal 2018; 3(2): 19-27. (in Thai)
  12. Akkadechanunt T, Chontawan R. A tool of quality service by perception customers. Chiangmai: Faculty of Nursing, Chiangmai University; 2006. (in Thai)
  13. Leinonen T, Leino-Kilpi H, Ståhlberg MR, Lertola K. The quality of perioperative care: development of a tool for the perceptions of patients. J Adv Nurs 2001; 35(2): 294-306. doi:10.1046/j.1365-2648.2001.01846.x