หน้าหลัก navigate_next หลักสูตรปริญญาตรี

หลักสูตรปริญญาตรี

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

 

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program

 

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ: หลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี ตามกฎกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และตามประกาศ   คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี  พ.ศ. 2565

ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ  หลักสูตร 4 ปี

ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน: จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

การรับเข้าศึกษาในหลักสูตร: รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้

ความร่วมมือผลิตบัณฑิตกับสถาบันอื่น: หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว 

 

ปรัชญาของหลักสูตร 

        คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีความเชื่อว่า การพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ช่วยเหลือดูแลสุขภาพของบุคคลอย่างเป็นองค์รวม โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการแพทย์ ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งส่งเสริมให้บุคคล ครอบครัว กลุ่มคนในสังคมและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและพึ่งพาตนเอง สามารถตัดสินใจพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี สามารถเรียนรู้และมีชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยและข้อจำกัดได้อย่างปกติสุขบนพื้นฐานของความปลอดภัย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม 

        หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามมาตรฐานวิชาชีพโดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความโดดเด่นด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ สามารถสร้างสรรค์งานที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีทักษะการแก้ไขปัญหาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง  มีจิตสาธารณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความเอื้ออาทร มีความสามัคคีและสำนึกดีต่อสังคม โดยมีแนวคิดการจัดการศึกษามุ่งที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based education) เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบ Blended learning และ Technology-enhanced learning เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and innovation) และส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative education) รองรับสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและเน้นปฏิบัติการพยาบาล ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะหลักองค์กร ส่งเสริมให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ และทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง 

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาลให้:

1)  มีความรู้ทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการดูแลผู้รับบริการทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการผดุงครรภ์ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

2)  มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้รับบริการทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการผดุงครรภ์ ตามมาตรฐานวิชาชีพ และหลักฐานเชิงประจักษ์

3)  มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ

4)  มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน คิดเห็นในเชิงบวก มีความสามารถในการจัดการ กล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีความคิดเชิงระบบ

5)  มีความรู้ ความสามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้และการทำงาน

6)  สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม

7)  มีกรอบคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ

8)  สามารถปฏิบัติการวิจัยหรือนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลที่ไม่ซับซ้อนและหรือการผดุงครรภ์ที่ไม่ซับซ้อน

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร   เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตร บัณฑิตสามารถ:

PLO1 ประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดูแลผู้รับบริการทุกช่วงวัยในสถานบริการสุขภาพและในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 

PLO2 ปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้รับบริการทุกช่วงวัยและการผดุงครรภ์ อย่างเป็นองค์รวมตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ  

PLO3 ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ 

PLO4 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีคุณธรรม จริยธรรม 

PLO5 แสดงออกถึงพฤติกรรมการมีภาวะผู้นำ 

PLO6 ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 

PLO7 สื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักวิชาการและวิชาชีพ 

PLO8 ประยุกต์ใช้กรอบคิดการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อออกแบบการบริการด้านสุขภาพ

PLO9 ปฏิบัติการวิจัยหรือนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาทางการพยาบาล และหรือการผดุงครรภ์ที่ไม่ซับซ้อน

 

โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา   

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

 

 หมวดวิชา/กลุ่มวิชา  จำนวนหน่วยกิต 

 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                       ไม่น้อยกว่า

 24  หน่วยกิต* 
      1.1  หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ  18  หน่วยกิต 
      1.1.1  กลุ่มวิชาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์  8  หน่วยกิต 
              1.1.1.1  ภาษาไทย  2  หน่วยกิต 
              1.1.1.2  ภาษาอังกฤษ  6  หน่วยกิต 
 

    1.1.2  กลุ่มวิชาศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินชีวิต

 4  หน่วยกิต 
      1.1.3  กลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการ  2  หน่วยกิต 
      1.1.4  กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองดิจิทัล  4  หน่วยกิต 
   1.2  หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเลือก  6  หน่วยกิต 

 2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                ไม่น้อยกว่า

 98 หน่วยกิต* 
   2.1  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   18  หน่วยกิต 
   2.2  กลุ่มวิชาชีพบังคับ  78  หน่วยกิต 
        2.2.1  กลุ่มวิชาชีพทฤษฎี  42  หน่วยกิต 
        2.2.2  กลุ่มวิชาชีพปฏิบัติ  36  หน่วยกิต 
   2.3  กลุ่มวิชาชีพเลือก                                                     ไม่น้อยกว่า  2  หน่วยกิต 

 3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                            ไม่น้อยกว่า

 6  หน่วยกิต* 
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า  128  หน่วยกิต 

 

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่  1   ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต

 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

 XXXXXXX  กลุ่มวิชาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (ภาษาไทย)

 2(2-0-4)
 

 XXXXXXX  กลุ่มวิชาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (ภาษาอังกฤษ) (1)

 2(2-0-4)
 

 XXXXXXX  กลุ่มวิชาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (ภาษาอังกฤษ) (2)

 2(2-0-4)
 

 XXXXXXX  กลุ่มวิชาศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินชีวิต  (1)

 2(2-0-4)
 

 XXXXXXX  กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองดิจิทัล (1)

 2(2-0-4)
 

 XXXXXXX  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก (1)

 2(2-0-4)
   XXXXXXX  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก (2)  2(2-0-4)
   XXXX XXX  วิชาศึกษาทั่วไปเลือก (3)  2(2-0-4)

 หมวดวิชาเฉพาะ

 1801 101  จิตวิทยาสำหรับพยาบาล (Psychology for Nurses)

 1(1-0-2)
 หมวดเลือกเสรี

 XXXXXXX  วิชาเลือกเสรี (1)

 2(2-0-4)
  รวม (Total) 19 หน่วยกิต 

 

ชั้นปีที่  1  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  XXXXXXX กลุ่มวิชาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (ภาษาอังกฤษ) (3) 2(2-0-4)
   XXXXXXX กลุ่มวิชาศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินชีวิต (2) 2(2-0-4)
   XXXXXXX กลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการ  2(2-0-4) 2(2-0-4)
   XXXXXXX  กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองดิจิทัล (2) 2(2-0-4)

 หมวดวิชาเฉพาะ

 1904 101  กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (Human Anatomy)

3(2-2-5)
 

 1904 102 สรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology)

3(2-2-5)
 

 1904 103  ชีวเคมีทางการพยาบาล (Biochemistry in Nursing) 

2(2-0-4)
 

 1801 102  แนวคิดพื้นฐานและทฤษฎีทางการพยาบาล 

                  (Fundamental Concepts and Nursing Theories)

2(2-0-4)
  รวม (Total) 18 หน่วยกิต 

 

ชั้นปีที่  2   ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
 หมวดวิชาเฉพาะ  1904 201 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางพยาบาล
                  (Microbiology and Parasitology in Nursing)
2(2-0-4)
   1904 202 พยาธิวิทยาทางการพยาบาล (Pathology in Nursing) 2(2-0-4)
   1801 203 ระบาดวิทยาสำหรับพยาบาล (Epidemiology for Nurses) 1(1-0-2)
 

 1801 204  การประเมินภาวะสุขภาพและกระบวนการพยาบาล
                  (Health Assessment and Nursing Process)

3(2-2-5)

   1801 205  การพยาบาลเบื้องต้น (Fundamental Nursing)  3(2-2-5)
   1801 206 สารสนเทศศาสตร์ทางการพยาบาล (Nursing Informatics) 1(1-0-2)
 

 1801 207  แนวคิดการเจ็บป่วยเรื้อรังและการจัดการ
                  (Chronic Illness Concepts and Management)

1(1-0-2)

 หมวดเลือกเสรี

 XXXXXXX  วิชาเลือกเสรี (2) 2 หน่วยกิต 
   XXXXXXX  วิชาเลือกเสรี (3) 2 หน่วยกิต 
  รวม (Total) 17หน่วยกิต 

 

ชั้นปีที่  2  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 1904 203 เภสัชวิทยาทางการพยาบาล (Pharmacology in Nursing) 2(2-0-4)
  1801 208  ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล (English for Nurses) 2(2-0-4)
 

1801 209  การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 
                  (Maternal and Newborn Nursing and Midwifery I)

3(2-2-5)
  1801 210  การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 (Adult Nursing I) 2(2-0-4)
  1801 211  การพยาบาลผู้สูงอายุ (Gerontological Nursing) 2(2-0-4)
 

1801 212 กฎหมายและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
                  (Law and Ethics in Nursing Profession) 

2(2-0-4)
 

1801 213  ฝึกปฏิบัติการพยาบาลเบื้องต้น (Fundamental Nursing Practicum)

4(0-12-0)
  รวม (Total) 17 หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่  3  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 1801 314 การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2
                  (Maternal and Newborn Nursing and Midwifery II)
3(3-0-6)
 

1801 315 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

                 (Child and Adolescent Nursing)

3(3-0-6)
  1801 316  การพยาบาลผู้ใหญ่ 2
                  (Adult Nursing II)
3(3-0-6)
  1801 317 การรักษาพยาบาลขั้นต้น
                  (Primary Medical Care)
2(1-2-3)
  1801 318 การพยาบาลอนามัยชุมชน
                  (Community Health Nursing)
3(3-0-6)
 

1801 319 การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

                 (Psychiatric and Mental Health Nursing)

3(3-0-6)
 

1801 320 วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 1

                 (Research and Innovation in Nursing I)

2(2-0-4)
  รวม (Total) 19 หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่  3  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ

1801 321  วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 2

                 (Research and Innovation in Nursing II)

1(0-2-1)
 

1801 322  ภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล

                 (Leadership and Nursing Management)

2(2-0-4)
 

1801 323 ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

                 (Maternal Newborn Nursing and Midwifery Practicum I)

4(0-12-0)
 

1801 324  ฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

                 (Child and Adolescent Nursing Practicum)

4(0-12-0)
 

1801 325 ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

                 (Adult and Gerontological Nursing Practicum I)

3(0-9-3)
  รวม (Total) 14 หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่  4  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ

1801 426 การเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ

                  (Health Entrepreneurship) 

1(0-2-1)
  1801 XXX  วิชาชีพเลือก 2(2-0-4)
 

1801 431 ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2

                 (Maternal Newborn Nursing and Midwifery Practicum II)

3(0-9-0)
 

1801 432 ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2

                 (Adult and Gerontological Nursing Practicum II)

3(0-9-0)
 

1801 433  ฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน

                 (Community Health Nursing Practicum)

4(0-12-0)
  รวม (Total) 13 หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่  4  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัส - ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ

1801 434  ฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
                  (Psychiatric Nursing and Mental Health Practicum)

4(0-12-0)
 

1801 435  ฝึกปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น
                  (Primary Medical Care Practicum)

3(0-9-0)
 

1801 436 ปฏิบัติการพยาบาลสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ
                  (Professional Nursing Practicum)

4(0-12-0)
  รวม (Total) 11 หน่วยกิต

 

เกณฑ์การสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 

เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ข้อ 13 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2563 หมวด 2 ส่วนที่ 4 ข้อ 20 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564  หมวดที่ 12 ข้อ 54  และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร ดังนี้

  1.  ต้องศึกษาครบตามจำนวนหน่วยกิต ที่กำหนดในแผนการศึกษาของหลักสูตร และต้องได้แต้มไม่ต่ำกว่าระดับ 2.00 ทุกรายวิชาในกลุ่มวิชาชีพบังคับ และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร
  2.  ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 แต้ม ระดับคะแนน และบรรลุผลการเรียนรู้ครบถ้วน
  3.  สอบผ่านการสอบรวบยอดประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ตามที่หลักสูตรกำหนด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของแต่ละรายวิชาที่สอบ) โดยใช้ข้อสอบที่พัฒนาให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของ หลักสูตร
  4.  สอบผ่านการสอบรวบยอดการประเมินทักษะปฏิบัติทางคลินิก (Objective Structured Clinical Examination: OSCE) ตามที่หลักสูตรกำหนด  โดยใช้ข้อสอบและแบบประเมินทักษะที่พัฒนาให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
  5.  สอบผ่านการประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามที่หลักสูตรกำหนด โดยใช้แบบประเมินเกณฑ์ให้คะแนน (Scoring rubrics) 
  6.  สอบผ่านการวัดความรู้การใช้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษาตามแนวทางของมหาวิทยาลัย
  7.  ไม่อยู่ในระหว่างรับโทษทางวินัยที่ระบุให้งดเสนอชื่อเพื่อรับปริญญา